อ่านแล้ว 76 ครั้ง

ประชาสัมพันธ์โทษของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า (ELECTRIC CIGARETTE) เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำ ประกอบไปด้วยสารเคมีต่างๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป

ส่วนของน้ำยาที่ถูกทำให้เป็นไอ เข้าสู่ร่างกาย จะมีสารประกอบหลัก คือ  

1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่

2. โพรไพลีนไกลคอล ทำให้เกิดอาการไอ

3. กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้น เมื่อผสมกับสารโพรไพลีนไกลคอล  ทำให้เกิดอาการไอ

4. สารแต่งกลิ่นและรส เป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่วๆ ไป แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า เมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบแล้ว จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร

สารเคมีต่าง ๆ ที่พบในน้ำยา ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น

นิโคติน  กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง

• เพิ่ม : ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ

• เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง : มะเร็งปอด ช่องปาก หลอดอาหาร ตับอ่อน

• โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

• กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน  

• กระตุ้นจำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง

• ในหญิงตั้งครรภ์ นิโคตินส่งผลต่อพัฒนาการ ของสมองทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

• สารนิโคติน ทำให้เกิดการเสพติด ไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา

โพรไพลีนไกลคอล / สาร Glycerol/Glycerin 

เมื่อสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้พบมากในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง

และสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde, Benzene เป็นต้น จากการวิจัยยังพบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง

เทียบกับบุหรี่ธรรมดาแล้วบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าหรือน้อยกว่า?

ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้

บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นของใหม่ ยังไม่มีข้อมูลวิจัยที่มากพอที่จะยืนยันถึงอันตรายของสารเคมีแต่ละตัวในบุหรี่ไฟฟ้า กรณีใช้ไปนานๆ ยังไม่มีข้อมูลว่าอันตราย  แต่ไม่ใช่แปลว่าไม่มีอันตราย จะต้องติดตามศึกษากันต่อไปก่อน




ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม


วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15:33 น.